เมนู

ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จ
ด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน; พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้
จันทน์. ครั้นให้ศาลารายสำเร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา
จึงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ 6 ล้าน 8 แสน ได้ถวายทานตลอด
4 เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาภิกษุเหล่านั้น จีวรมี
ค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว.
เขาทำบุญกรรม ในกาลแห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้าอย่างนั้นแล้ว เคลื่อน
จากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและในมนุษย์ทั้งหลาย ในภัทร-
กัปนี้ เกิดในสกุลเศรษฐีมีโภคะมากในกรุงพาราณสี ได้มีนามว่า พาราณสี-
เศรษฐี.

เศรษฐีประสบฉาตกภัย


วันหนึ่ง เศรษฐีไปสู่ที่บำรุงพระราชา พบปุโรหิต จึงกล่าวว่า
" ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามหรือ ?"
ปุโรหิต. ขอรับ ผมตรวจดู , เราทั้งหลายจะมีการงานอะไรอื่น ?
เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นไปในชนบทจักเป็นเช่นไร ?
ปุโรหิต. ภัยอย่างหนึ่ง จักมี.
เศรษฐี. ชื่อว่าภัยอะไร ?
ปุโรหิต. ฉาตกภัย1 ท่านเศรษฐี.
เศรษฐี. จักมี เมื่อไร ?
ปุโรหิต. จักมี โดยล่วงไป 3 ปี แต่ปีนี้.
เศรษฐี ฟังคำนั้นแล้วให้บุคคลทำกสิกรรมเป็นอันมาก รับ (ซื้อ)
1. ภัยคือความอดอยากหรือความหิว.

จำเพาะข้าวเปลือกแม้ด้วยทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือน ให้กระทำฉาง 1,250 ฉาง
บรรจุฉางทั้งหมดให้เต็มด้วยข้าวเปลือก. เมื่อฉางไม่พอ ก็บรรจุภาชนะมี
ตุ่มเป็นต้นให้เต็มแล้ว ขุดหลุมฝังข้าวเปลือกที่เหลือในแผ่นดิน. ให้ขยำ
ข้าวเปลือกที่เหลือจากที่ฝั่งไว้กับด้วยดิน ฉาบทาฝาทั้งหลาย.
โดยสมัยอื่นอีก เศรษฐีนั้น เมื่อภัยคือความอดอยากถึงเข้าแล้วก็
บริโภคข้าวเปลือกตามที่เก็บไว้, เมื่อข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉางและใน
ภาชนะมีตุ่มเป็นต้นหมดแล้ว, จึงให้เรียกชนผู้เป็นบริวารมาแล้ว กล่าวว่า
" พ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงเข้าไปสู่ภูเขาแล้วเป็นอยู่ ประสงค์จะ
มาสู่สำนักของเรา ก็จงมาในเวลาที่มีภิกษาอันหาได้ง่าย, ถ้าไม่อยากจะมา,
ก็จงเป็นอยู่ในที่นั้นเถิด." ชนเหล่านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.
ส่วนทาสผู้ทำการรับใช้1 คนหนึ่ง ชื่อว่าปุณณะ เหลืออยู่ในสำนักของ
เศรษฐีนั้น. รวมเป็นคน 5 คนเท่านั้นคือ เศรษฐี ภรรยาของเศรษฐี
บุตรของเศรษฐี บุตรสะใภ้ของเศรษฐีกับนายปุณณะนั้น (ที่ยังคงเหลืออยู่).
ชนเหล่านั้น แม้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมในแผ่นดินหมดสิ้น
แล้ว. พังดินที่ฉาบไว้ที่ฝาแล้ว แช่น้ำ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเปลือก
ที่ได้แล้วจากฝานั้น.
ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น เมื่อความหิวครอบงำอยู่ เมื่อดิน
สิ้นไปอยู่ พังดินที่เหลืออยู่ในส่วนแห่งฝาทั้งหลายลงแล้ว แช่น้ำ ได้ข้าว-
เปลือกประมาณกึ่งอาฬหกะ2 ตำแล้ว ถือเอาข้าวสารประมาณทะนานหนึ่ง-
ใส่ไว้ในหม้อใบหนึ่ง เพราะความกลัวแต่โจรว่า " ในเวลาเกิดฉาตกภัย
1. เวยฺยาวจฺจกโร โดยพยัญชนะแปลว่า ผู้กระทำซึ่งกรรมแห่งบุคคลผู้ขวนขวาย. 2. อาฬหกะ
หนึ่งคือ 4 ทะนาน กึ่งอาฬหกะ= 2 ทะนาน.

พวกโจรมีมาก" ปิดแล้วฝังตั้งไว้ในแผ่นดิน. ลำดับนั้น เศรษฐีมาจากที่
บำรุงแห่งพระราชาแล้ว กล่าวกะนางว่า " นางผู้เจริญ ฉันหิว, อะไร ๆ
มีไหม ?" นางนั้น ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ว่า " ไม่มี " กล่าวว่า " นาย
ข้าวสารมีอยู่ทะนานหนึ่ง."
เศรษฐี. ข้าวสารทะนานหนึ่งนั้น อยู่ที่ไหน ?
ภรรยา. ฉันฝั่งตั้งไว้ เพราะกลัวแต่โจร.
เศรษฐี. ถ้ากระนั้น หล่อนจงขุดมันขึ้นมาแล้ว หุงต้มอะไร ๆ เถิด.
ภรรยา. ถ้าเราจักต้มข้าวต้ม, ก็จักเพียงพอกัน 2 มื้อ; ถ้าเราจัก
หุงข้าวสวย, ก็จักเพียงพอเพียงมื้อเดียวเท่านั้น; ฉันจักหุงต้มอะไรล่ะ ? นาย.
เศรษฐี. ปัจจัยอย่างอื่นของพวกเราไม่มี, พวกเราต่อบริโภคข้าว
สวยแล้วก็จักตาย; หล่อนจงหุงข้าวสวยนั่นแหละ.
ภรรยาแห่งเศรษฐีนั้น หุงข้าวสวยแล้ว แบ่งให้เป็น 5 ส่วน
คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี.

เศรษฐีถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า


ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออก
จากสมาบัติ. ทราบว่า ในภายในสมาบัติ ความหิวย่อมไม่เบียดเบียน
เพราะผลแห่งสมาบัติ, แต่ว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออกจาก
สมาบัติแล้ว ความหิวมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เป็นราวกะว่าเผาพื้นท้องอยู่;
เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ตรวจดูฐานะที่จะได้ (อาหาร)
แล้ว จึงไป.
ก็ในวันนั้น ชนทั้งหลาย ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ย่อมได้สมบัติ บรรดาสมบัติมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นอย่างใดอย่าง